สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี

1. ประวัติความเป็นมา

บรรพบุรุษของคนในตำบลโคกสี (บ้านโคกสี) พื้นเพเดิมนั้นมีเชื้อสายมาจากเมืองนครจำปาสี (พระธาตุนาดูนในปัจจุบัน)   นครจำปาสีถูกภัยสงครามจนเป็นเหตุให้เจ้าเมืองนครจำปาสี และภรรยาถึงแก่ความตาย   คนที่อยู่ในนครก็หนีแตกกระเจิงไปคนละทิศละทาง   โดยแตกออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ แต่ร่วมเดินทางมาด้วยกัน เมื่อ 3 กลุ่มนั้นเดินทางหนีภัยสงครามมาถึงบ้านโนนเมือง (ในพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัยในปัจจุบัน)   จึงได้แยกเดินทางออกเป็น   3   สาย กลุ่มที่ 1 เดินทางไปทางเมืองฟ้าแดดสูงยาง (จังหวัดกาฬสินธุ์ในปัจจุบัน)   กลุ่มที่ 2   เดินทางไปทางด้านทิศเหนือข้ามแม่น้ำโขงมุ่งสู่นครเวียงจันทน์หรือหลวงพระบาง ส่วนกลุ่มที่ 3 เดินทางมาตามลำน้ำพอง พอมาถึงบริเวณทิศตะวันตกของที่ตั้งวัดศิริธรรมิกาวาส บ้านโคกสีในปัจจุบันได้พากันพักอาศัยอยู่ชั่วคราว ทำให้เกิดความคิดขึ้นว่าตรงบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์ พอที่จะตั้งหมู่บ้านเป็นหลักแหล่งได้ จึงได้ตั้งหมู่บ้านพากันพำนักอาศัยอยู่ แต่อีกส่วนหนึ่ง   ได้เดินทางต่อไปทางเมืองหนองคาย   เมื่อไปถึงได้เล่าถึงความเดือดร้อนให้เจ้าเมืองหนองคายทราบ เจ้าเมืองจึงได้จัดสถานที่ให้อยู่ตามแนวลำน้ำโขง โดยในกลุ่มนี้มีลูกชายคนเล็กของเจ้าเมืองนครจำปาสีมีนามว่า เจ้าวัชระกุมาร ที่รอดพ้นชีวิตจากภัยสงครามร่วมเดินทางมาด้วย

          ส่วนกลุ่มคนที่ตั้งหมู่บ้านอยู่บริเวณที่เป็นที่ตั้งบ้านโคกสีปัจจุบัน   ก็เริ่มตั้งตัวเป็นปึกแผ่นตามลำดับ ต่อมาได้มีพระสงฆ์ 2 รูป คือ พระอาจารย์จันดี กับ พระอาจารย์โสดา เดินทางมาจากเมืองสาเกตุ   (จังหวัดร้อยเอ็ด)   ได้มาร่วมตั้งหมู่บ้าน   พร้อมกับตั้งวัดขึ้นประจำหมู่บ้านและได้ตั้งชื่อหมู่บ้านและวัด   ขึ้นว่า บ้านโคกก่อง   และ   วัดบ้านโคกก่อง”   ทั้งสองพระอาจารย์และชาวบ้านญาติโยมก็อยู่กันมาโดยปกติสุขตามลำดับ     แต่ต่อมาได้เกิดโรคระบาดขึ้น   เป็นเหตุให้ผู้คนล้มตาย พระอาจารย์ทั้งสองกับชาวบ้าน   จึงร่วมใจกันทำพิธีแก้เคล็ดย้ายบ้านและวัดข้ามฟากถนนมาทางด้านทิศตะวันออก เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2393 และเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลจึงได้ตั้งชื่อบ้านขึ้นใหม่ว่า บ้านโคกสี และ วัดบ้านโคกสี

          ในเวลาต่อมาบ้านโคกสี   ได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลโคกสี     โดยแรกเริ่มนั้นมีทั้งหมด   11 หมู่บ้าน   หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2528   ตำบลโคกสีได้แยกหมู่บ้านออกเพื่อตั้งเป็นตำบลอีกตำบลหนึ่งคือตำบลหนองตูม   และมีการแบ่งแยกหมู่บ้านใหม่ที่เหลืออยู่   จนในปัจจุบันนี้มีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน และได้ยกฐานะจากสภาตำบลโคกสี เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี เมื่อปี พ.ศ. 2539

2. ข้อมูลพื้นฐาน

ทำเลที่ตั้งตำบล ตำบลโคกสีเป็น  1 ใน 16    ตำบลในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น   จังหวัดขอนแก่น ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองขอนแก่นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 15 กิโลเมตร มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง 4 ส่วน คือ ตำบลหนองตูม, ตำบลศิลา, ตำบลบึงเนียม, ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน ดังนี้

ทิศเหนือ จรด     ตำบลหนองตูม   อำเภอเมือง       จังหวัดขอนแก่น

                   ทิศตะวันออก      จรด     ตำบลกู่ทอง     อำเภอเชียงยืน   จังหวัดมหาสารคาม

                   ทิศตะวันตก       จรด     ตำบลศิลา       อำเภอเมือง     จังหวัดขอนแก่น

                   ทิศใต้             จรด     ตำบลบึงเนียม   อำเภอเมือง     จังหวัดขอนแก่น

                  

การแบ่งเขตปกครอง   แบ่งออกเป็น   14   หมู่บ้าน   ดังนี้ 

หมู่บ้าน

ชื่อบ้าน

ชื่อผู้ใหญ่บ้าน

1

บ้านโคกสี

นายธนพงษ์  

กองไตร

2

บ้านโคกสี

นายสุคพ  

เก้งโทน

3

บ้านยางหย่อง

นายสุวิท  

ผาผง

4

บ้านพรหมนิมิต

นางรุ่งทิวา

แก้วพรรณา

5

บ้านหนองเต่า

นายเสรี          

สะตะ

6

บ้านหนองหัววัว

นายสุรพงษ์    

เตินเตือน

7

บ้านหนองไหล

นายถาวร    

กองฝ่าย

8

บ้านเลิง

นายทองผัด  

เบ้าเฮือง  

9

บ้านหนองบัวทอง

นายบุดดา    

ลากุล

10

บ้านบึงเรือใหญ่

นายโสรส  

สิมมา

11

บ้านท่าพระทราย

นายสงกรานต์

สังยวน

12

บ้านโคกแปะ

นายอุดม  

โมลี

13

บ้านโคกสี

นายกัณหา

ล่าสุด

14

บ้านโคกสี

นายบุญถม    

มาตย์สมบัติ

          เนื้อที่    

ตำบลโคกสี มีพื้นที่ประมาณ 20,373 ไร่ หรือ 36.92 ตารางกิโลเมตร   พื้นที่ทำการเกษตร 17,023 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ

          สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นที่ราบเรียบและที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีลำน้ำพองไหลผ่านเป็นแนวเขตการติดต่อทางด้านทิศตะวันตก ดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินทราย คุณภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินค่อนข้างต่ำ

ประชากร                                                                                                                                                            จำนวนประชากรที่อาศัยในตำบลโคกสีทั้งสิ้น 8,911 คน เป็นชาย 4,443 คน เป็นหญิง 4,468 คน โดยแยกเป็นรายหมู่บ้านดังนี้

หมู่บ้าน

ชื่อบ้าน

จำนวนประชากร

จำนวน

หลังคาเรือน

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านโคกสี

335

315

650

208

790

751

1,541

2

บ้านโคกสี

301

311

612

217

728

772

1,500

3

บ้านยางหย่อง

157

151

308

88

389

350

739

4

บ้านพรหมนิมิต

487

502

989

410

945

1,057

2,002

5

บ้านหนองเต่า

151

165

316

80

389

393

782

6

บ้านหนองหัววัว

251

275

526

129

618

666

1,284

7

บ้านหนองไหล

563

496

1,059

256

1,268

1,183

2,451

8

บ้านเลิง

511

497

1,008

269

1,213

1,195

2,408

9

บ้านหนองบัวทอง

232

228

460

116

510

517

1,027

10

บ้านบึงเรือใหญ่

178

172

350

86

401

399

800

11

บ้านท่าพระทราย

145

165

310

66

325

393

718

12

บ้านโคกแปะ

553

571

1,124

274

1,267

1,331

2,598

13

บ้านโคกสี

379

405

784

191

950

1,000

1,950

14

บ้านโคกสี

200

215

415

118

473

518

991

รวม

4,443

4,468

8,911

2,508

10,266

10,525

20,791

หมายเหตุ ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2555 จากสำนักบริหารทะเบียน อำเภอเมืองขอนแก่น กรมการปกครอง

3. หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี    

                   - คลินิกเอกชน                                         4                  แห่ง

                   - ปั้มน้ำมันและก๊าซ                                    5                  แห่ง

                   - โรงงานอุตสาหกรรม                                 19                แห่ง

                   - โรงสี (ขนาดเล็ก)                                    19                แห่ง

                   - ร้านค้าของชำ                                        96                แห่ง

                   - ร้านขายยา                                           4                  แห่ง

4. สภาพทางสังคม

          การศึกษา

                   - โรงเรียนประถมศึกษา                                7                  แห่ง

                   - โรงเรียนมัธยมศึกษา                                 1                  แห่ง

                   - โรงเรียนอาชีวศึกษา                                 -                  แห่ง

                   - ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน                         1                  แห่ง

                      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                 1                  แห่ง

                   - โรงเรียนกีฬาจังหวัดขอนแก่น                        1                  แห่ง

                   - ที่อ่านหนังสือพิมพ์                                  14                แห่ง

                   - ศูนย์การเรียนรู้                                     14                แห่ง

          ในพื้นที่องค์ การบริหารส่วนตำบลโคกสี มีโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาและประถมศึกษาขยายโอกาสรวม 8 โรงเรียนมีจำนวนครู นักเรียน   ดังนี้

1) โรงเรียนโคกสีพิทยาสรรค์     โดย นายวิชัย   อ่อนเบ้า   เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา        

ครูอาจารย์ ชาย 18 คน หญิง 19 คน รวมจำนวน 37 คน ลูกจ้างประจำ   5   คน

ชั้น / ปี

ชาย

หญิง

รวม

มัธยมศึกษาปีที่ 1

59

86

145

มัธยมศึกษาปีที่ 2

89

75

164

มัธยมศึกษาปีที่ 3

77

74

151

มัธยมศึกษาปีที่ 4

68

77

145

มัธยมศึกษาปีที่ 5

39

49

88

มัธยมศึกษาปีที่ 6

22

43

65

รวม

354

404

758

รายชื่อโรงเรียน

จำนวนนักเรียน

ผู้อำนวยการ

อนุบาล

(คน)

ป.1   ป.4

(คน)

ป.5   ป.6

(คน)

รวมทั้งสิ้น

(คน)

ชุมชนบ้านพรหมนิมิต

37

45

25

107

นายวันชัย สุตรีศาสตร์

บ้านโคกแปะ

18

56

37

111

นายสมยศ   มีลุน

บ้านโคกสีวิทยาเสริม

38

68

57

163

นายสุบิน ดีรักษา

บ้านเลิง

24

29

24

77

นายเรืองชัย   สินธพ

บ้านหนองไหลหนองบัวทอง

37

70

35

142

นายอาทิตย์ จันโทริ

บ้านหนองเต่าบึงเรือใหญ่และยางหย่อง

24

31

16

71

นายยงยุทธ์ พิมหานาม

บ้านหนองหัววัว

13

17

15

45

นายประสิทธิ์ แก้วบ่อ

รวม

191

316

209

716

การจัดการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสีได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเด็กก่อนวัยเรียน ในชั้นอนุบาล 2-4 จำนวน 3 ห้องเรียน ณ อาคารส่วนการศึกษา มีบุคลากร 9 คน โดยมีหัวหน้าส่วนการศึกษา นักวิชาการศึกษา ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา ครูผู้ดูแลเด็ก 2 คน และผู้ช่วยผู้ดูแลเด็ก 4 คน

การสถาบันและองค์กรทางศาสนา

                - วัด / สำนักสงฆ์                                     12                แห่ง

                   - ฮวงซุ้ย                                               1                แห่ง

          การสาธารณสุข

                   - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน                   1                  แห่ง    

                   - ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น        1      แห่ง

          ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                   - สถานีตำรวจภูธรประจำตำบล                        1                  แห่ง

                   - เจ้าหน้าที่ตำรวจ                                     6                  นาย

การบริการพื้นฐาน

          การคมนาคม

- ทางหลวงแผ่นดิน   หมายเลข 209     สายขอนแก่น-ยางตลาด ผ่านหมู่ที่ 4 บ้านพรหมนิมิต

                   - ทางหลวงแผ่นดิน   หมายเลข 2183   สายขอนแก่น-น้ำพอง ผ่านบ้านโคกสี   บ้านเลิง

                   - การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านในตำบลมีความสะดวกปานกลาง

การโทรคมนาคม

                   - ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข                          1        แห่ง

                   - องค์การสื่อสารแห่งประเทศไทย ช่อง 3,9          1        แห่ง

                   - สถานีโทรทัศน์ ไทยPBS                            1        แห่ง

                   - สถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทยช่อง 11     1             แห่ง

          การไฟฟ้า

                   - ไฟฟ้าเข้าถึง             14                หมู่บ้าน

                   - ไฟฟ้าถนนสาธารณะ     14                หมู่บ้าน

                   - จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย   ร้อยละ 100

          แหล่งน้ำธรรมชาติ

                   - ลำน้ำ , ลำห้วย                   14      สาย     พื้นที่     8,984  ไร่

                   - บึง , หนอง              30      แห่ง     พื้นที่     4,763   ไร่

          แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

                   - คลองส่งน้ำ                        จำนวน                     2   แห่ง       พื้นที่   16,144 ไร่

                   - บ่อน้ำตื้น                          จำนวน            11  แห่ง        พื้นที่       2,616 ไร่

                   - ฝาย / ทำนบ /พนังกั้นน้ำ       จำนวน            8    แห่ง       พื้นที่       3,852 ไร่

                   - สระน้ำ                            จำนวน            19 แห่ง        พื้นที่       2,174 ไร่

                   - บ่อน้ำบาดาล                      จำนวน            74 แห่ง        พื้นที่          74 ไร่

                   - ประปาท้องถิ่น / หมู่บ้าน         จำนวน            12 แห่ง

6. ข้อมูลอื่นๆ

          ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

                   - ที่ดินสาธารณประโยชน์  จำนวน            25      แห่ง    พื้นที่     2,763   ไร่

                   - พื้นที่ป่าไม้                         จำนวน            7        แห่ง    พื้นที่        936  ไร่

                   - ค่ายลูกเสือ                       จำนวน            1        แห่ง    พื้นที่      200 ไร่

          มวลชนจัดตั้ง

                   - กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง              จำนวน            14      กองทุน

                   - กองทุนหมุนเวียน                           จำนวน            14      กองทุน

                   - กองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิต             จำนวน            14      กองทุน

                   - กองทุนออมทรัพย์หมู่บ้าน                  จำนวน            14      กองทุน

                   - ธนาคารหมู่บ้าน                            จำนวน            1        กองทุน

                   - กองทุนสงเคราะห์ราษฎร                   จำนวน            1        กองทุน

                   - กลุ่มแปรรูปอาหารทะเล          จำนวน            1        กลุ่ม

                   - อปพร.                                      จำนวน            60      นาย

                   - ประชาคมหมู่บ้าน                           จำนวน            14      หมู่บ้าน

                   - หน่วยกู้ชีพ                                  จำนวน            15      คน

2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น

ตำบลโคกสี มีลักษณะเป็นชุมชนชนบท ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่งผลให้ตำบลโคกสี มีบทบาทความสำคัญทางด้านเกษตรกรรม การทำนา และการปลูกพืชอาหารสัตว์ ปลูกอ้อย โดยพื้นที่ทางการเกษตร ทั้งหมด 21,243 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 30,000 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดของตำบล

 

ความต้องการของประชาชน

  1. 1.

                        1.1 ก่อสร้างและปรับปรุงถนนคสล,ถนนลาดยาง, ถนนลูกรัง,

1.2 สร้างสะพาน คสล.,วางท่อระบายน้ำ

1.3 ขยายเครือข่ายโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์ทุกหมู่บ้าน

1.3 ขยายเขตไฟฟ้าแรงต่ำ และติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะให้เพียงพอ

1.4 ขุดลอกแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

  1. 2.

                                 2.1 ปรับปรุงโครงสร้าง ระบบการผลิตการเกษตร

                                 2.2 ต้องการความรู้ ด้านวิชาการและทัศนศึกษา

                                 2.3 ต้องการได้รับการฝึกอบรมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ และสนับสนุนเงินทุนพร้อมอุปกรณ์

                                 2.4 ต้องการพันธุ์ข้าวใหม่และความรู้ทางการเกษตรที่ทันสมัย

   3. ความต้องการด้านสาธารณสุขและอนามัย

                3.1 ต้องการได้รับการฝึกอบรมทางโภชนาการอนามัยแม่และเด็ก

                3.2ต้องการได้รับการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขศึกษา

                         3.3 ต้องการได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

                3.4ต้องการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ , เด็ก, สตรี และคนพิการ

                         3.5 กำจัดยุงลายให้หมดทั้งหมู่บ้าน

                         3.6 จัดโครงการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ทุกหมู่บ้าน

                         3.7 จัดทำโครงการรณรงค์โรคพิษสุนัขบ้า     

4.   ความต้องการด้านน้ำกิน-น้ำใช้เพื่อการเกษตร

                 4.1 ต้องการปรับปรุงระบบการผลิตประปาหมู่บ้านให้เพียงพอต่อความต้องการ

                 4.2 ต้องการขุดลอกแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และการกำจัดวัชพืช

5.   ความต้องการด้านความรู้ เพื่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิต

                 5.1 ต้องการได้รับความรู้ด้านอาชีพ

                 5.2 ต้องการได้รับความรู้ด้านการศึกษา/การศึกษาแบบเบ็ดเสร็จ (กศน.)

                 5.3 ต้องการความรู้ด้านสุขภาพอนามัย(อนามัยแม่และเด็ก/อบรมแม่บ้านโภชนาการอื่น ๆ)

                 5.4 ประชาสัมพันธ์ให้เห็นความสำคัญของการศึกษา

                 5.5 ความต้องการรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง

                 5.6 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดต่าง ๆ

                 5.7 จัดการแข่งขันกีฬาตำบล ต้านยาเสพติด

                 5.8 ฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

                 5.9 ปรับปรุงทัศนียภาพ ตามแนวถนนทุกสาในพื้นที่ อบต.

6.   ความต้องการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                 6.1 ต้องการให้มีการรณรงค์ เรื่อง การปลูกป่าทดแทน

 6.2 ต้องการได้รับความรู้เสริม ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 6.3 ต้องการให้ขุดลอกหนองน้ำที่ตื้นเขิน และกำจัดวัชพืช

 6.4 ต้องการมีร่องระบายน้ำเสียที่มีคุณภาพ มีความมั่งคงถาวร

7.   ความต้องการด้านการบริหาร และจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล

                   7.1 จัดประชุมประชาคมเพื่อสร้างความเข้มแข็ง

                   7.2   จัดหาบุคลากรให้เพียงพอในการปฏิบัติงาน

2.3   ภารกิจ   อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

                    การวิเคราะห์ภารกิจ   อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และรวบรวมกฎหมายอื่นของ อบต. ใช้เทคนิค Swot เข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่า องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดำเนินการ แก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม ในการดำเนินการตามภารกิจตามหลัก SWOT องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสีกำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้ สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจ ได้เป็น 6 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และตามพระราช บัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  ดังนี้

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

มาตรา ๖๖ องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม

มาตรา ๖๗ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วน

ตำบล ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(๒) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๓) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
(๔) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(๕) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
(๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
*(๗) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
*(๘) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
*(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็น และสมควร (อนุ (๘) (๙) ของมาตรา ๖๗ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๔๒)

มาตรา ๖๘ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้
(๑) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
(๒) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(๓) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
(๔) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
(๕) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
(๖) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
(๗) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
(๘) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(๙) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
(๑๐) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
(๑๑) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
(๑๒) การท่องเที่ยว
(๑๓) การผังเมือง
(อนุ (๑๒) (๑๓) ของมาตรา ๖๘ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ. ๒๕๔๒)

มาตรา ๖๙ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา ๖๖ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๖๘ นั้น ไม่เป็นการตัดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ในอันที่จะดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในตำบล แต่ต้องแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลทราบล่วงหน้าตามสมควร ในกรณีนี้หากองค์การบริหารส่วนตำบลมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจการดังกล่าวให้กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ นำความเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลไปประกอบพิจารณาดำเนินกิจการนั้นด้วย

มาตรา ๖๙/๑* การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด(มาตรา ๖๙/๑ เพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๖)

มาตรา ๗๐ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของทางราชการในตำบล เว้นแต่ข้อมูลหรือข่าวสารที่ทางราชการถือว่าเป็นความลับเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ

มาตรา ๗๑* องค์การบริหารส่วนตำบลอาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนตำบล ออกข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจออกข้อบัญญัติ ในการนี้จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บและกำหนดโทษปรับผู้ฝ่าฝืนด้วยก็ได้ แต่มิให้กำหนดโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

ร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจะเสนอได้ก็แต่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือราษฎรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติ
เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายอำเภอให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลงชื่อและประกาศเป็นข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลต่อไปในกรณีที่นายอำเภอไม่เห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติองค์กรบริหารส่วนตำบลใด ให้ส่งคืนสภาองค์การบริหารส่วนตำบลภายในสิบห้าวันตั้งแต่วันที่นายอำเภอได้รับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าวเพื่อให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาทบทวนร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นใหม่ หากนายอำเภอไม่ส่งร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคืนสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายอำเภอได้รับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าว ให้ถือว่านายอำเภอเห็นชอบกับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นเมื่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาทบทวนร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตามวรรคสี่แล้ว มีมติยืนยันตามร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลงชื่อและประกาศเป็นข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากนายอำเภอ แต่ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่ยืนยันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลคืนจากนายอำเภอหรือยืนยันด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้ร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นเป็นอันตกไป(มาตรา ๗๑ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๖)

มาตรา ๗๒* การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
เพื่อประโยชน์แก่กิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลอาจขอให้ข้าราชการพนักงาน หรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ไปดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม ทั้งนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตได้ตามความจำเป็น และในกรณีที่เป็นข้าราชการซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับหน่วยงานต้นสังกัดก่อนแต่งตั้ง(มาตรา ๗๒ แก้ไข โดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕ ) พ.ศ. ๒๕๔๖)

มาตรา ๗๓ องค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำกิจการนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบล หรือร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรมนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน

แนวทางในการกำหนดโครงสร้างส่วนราชการและกรอบอัตรากำลัง

          องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล (ก.อบต.) กำหนดให้เป็นขนาดกลาง โดยกำหนดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนการคลัง ส่วนโยธา และส่วนการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กำหนดให้มีกรอบอัตรากำลังจำนวนทั้งสิ้น 4   อัตรา โดย ก.ท. (เดิม) กำหนดตำแหน่งในสายงานไว้เพียง 18 สายงานและกำหนดว่าตำแหน่งในแต่ละสายงานจะมีจำนวนเท่าไหร่ ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี ไม่สามารถกำหนดตำแหน่งต่าง ๆ เพิ่มใหม่ได้ตามความจำเป็นที่จะต้องใช้คนที่มีความรู้ความสามารถด้านอื่นๆ นอกเหนือจากตำแหน่งที่กำหนดไว้ เพื่อให้แก้ปัญหาของประชาชนในเขตตำบลโคกสี ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดกรอบอัตรากำลังให้สอดคล้องกับภารกิจและอำนาจหน้าที่ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างการกำหนดส่วนราชการ

                   จากการที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้กำหนดภารกิจหลักและภารกิจรองที่จะดำเนินการดังกล่าว โดยองค์การบริหารส่วนตำบล กำหนดตำแหน่งของพนักงานส่วนตำบลให้ตรงกับภารกิจดังกล่าว และในระยะแรกการกำหนดโครงสร้างส่วนราชการที่จะรองรับการดำเนินการตามภารกิจนั้น อาจกำหนดเป็นภารกิจอยู่ในงาน หรือกำหนดเป็นฝ่าย และในระยะต่อไป เมื่อมีการดำเนินการตามภารกิจนั้น และองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาเห็นว่า ภารกิจนั้นมีปริมาณงานมากพอก็อาจจะพิจารณาตั้งเป็นกองต่อไป ดังนี้

โครงสร้างตามแผนอัตรากำลังปัจจุบัน

โครงสร้างตามแผนอัตรากำลังใหม่

หมายเหตุ

1.   สำนักงานปลัด อบต.

1.1   งานบริหารทั่วไป

1.2   งานนโยบายและแผน

1.   สำนักงานปลัด อบต.

1.1   งานบริหารทั่วไป  

1.2 งานนโยบายและแผน

2.   ส่วนการคลัง

2.1 งานการเงินและบัญชี

2.2 งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

2.3   งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

2.   ส่วนการคลัง

2.1 งานการเงินและบัญชี

2.2 งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

2.3 งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

3.   ส่วนโยธา

3.1   งานก่อสร้าง

3.2 งานผังเมืองและงานประสานสาธารณูปโภค

3.   ส่วนโยธา

3.1 งานก่อสร้าง

3.2 งานผังเมืองและงานประสานสาธารณูปโภค      

4.ส่วนการศึกษา   ศาสนาและวัฒนธรรม

4.1 งานบริหารการศึกษา

4.2 งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

4.   ส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

4.1 งานบริหารการศึกษา

4.2 งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

5.   ส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

5.1 งานบริการสาธารณสุขและงานสาธารณสุขอื่น

5.   ส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

5.1   งานบริการสาธารณสุขและงานสาธารณสุขอื่น

กระบวนการบริหารงานบุคคล   ประกอบด้วย 3   ส่วน   คือ

- สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ ประธานสภา , รองประธานสภา  และ   สมาชิกสภาองค์การ

บริหารส่วนตำบล

- ผู้บริหาร   ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บริหารสูงสุด และรองนายกองค์การบริหาร

ส่วนตำบล เป็นผู้ช่วยผู้บริหาร และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้ช่วยผู้บริหาร

- สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่   ปลัด อบต. เป็นผู้บริหารสูงสุดฝ่ายข้าราชการประจำ, รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ช่วย, หัวหน้าสำนักปลัด, หัวหน้าส่วนการคลัง, หัวหน้าส่วนโยธา, หัวหน้าส่วนการศึกษาฯ, หัวหน้าส่วนสาธารณสุขฯ และ เจ้าหน้าที่ประจำส่วนต่าง ๆ

คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี

ที่

ชื่อ สกุล

ตำแหน่ง

1

นายชาลี

ลาสา

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี

2

นายบุญนอง

ทัพซ้าย

รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี

3

นายทองกาน

สิมวงค์

รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี

สภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี

ที่

ชื่อ สกุล

ตำแหน่ง

1

นายจรูญชัย

สำนักดี

ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี

2

นายเอกพร

มาตรา

รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี

3

นางสาวพราวภัสสร

รัตนพรอาภาพัทธ์

เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล แยกเป็นรายหมู่บ้าน

ที่

ชื่อ - สกุล

ตำแหน่ง

หมู่ที่

บ้าน

1

นายสุริยันต์

สุนทองห้าว

สมาชิก อบต.

1

โคกสี

2

น.ส.สุมาลัย

เนียมชมภู

สมาชิก อบต.

1

โคกสี

3

นายสุธี

พลสันต์

สมาชิก อบต.

2

โคกสี

4

นายสุนทร

ปัดทำ

สมาชิก อบต.

2

โคกสี

5

นายวิชาญ

สมอุ่มจารย์

สมาชิก อบต.

3

ยางหย่อง

6

นายดี

ไกรยรัตน์

สมาชิก อบต.

3

ยางหย่อง

7

นายเอกพร

มาตรา

สมาชิก อบต.

4

พรหมนิมิต

8

นางหนูเทน

ศรีสะอาด

สมาชิก อบต.

4

พรหมนิมิต

9

นายวีระโชติ

พิศฐาน

สมาชิก อบต.

5

หนองเต่า

10

นายบรรพต

ผิวแดง

สมาชิก อบต.

5

หนองเต่า

11

นายประสาตร์

ดาทุมมา

สมาชิก อบต.

6

หนองหัววัว

12

นางอำนวย

โคตรนั๊วะ

สมาชิก อบต.

6

หนองหัววัว

13

นายสุชาติ

ท่างาม

สมาชิก อบต.

7

หนองไหล

14

นางเตียง

คำมูลแสน

สมาชิก อบต.

7

หนองไหล

15

นายสุรพล

ศรีบัวภา

สมาชิก อบต.

8

เลิง

16

นายรุด

มีจังหาร

สมาชิก อบต.

8

เลิง

17

นางสมศรี

สิมมา

สมาชิก อบต.

9

หนองบัวทอง

18

นางบุญช่วย

เวฬุวนาทร

สมาชิก อบต.

9

หนองบัวทอง

19

นายวิเชียร

วงษ์ไชยา

สมาชิก อบต.

10

บึงเรือใหญ่

20

นางสุวรรณี

ภูชาดึก

สมาชิก อบต.

10

บึงเรือใหญ่

21

นายวิชัย

วงษ์จันทอง

สมาชิก อบต.

11

ท่าพระทราย

22

นายสมพง์

พันเดช

สมาชิก อบต.

11

ท่าพระทราย

23

นายกองแป้ง

โคกแปะ

สมาชิก อบต.

12

โคกแปะ

24

นายโกศรี

จอมทอง

สมาชิก อบต.

12

โคกแปะ

25

นายจรูญชัย

สำนักดี

สมาชิก อบต.

13

โคกสี

26

นายไพรัตน์

ราชบัวน้อย

สมาชิก อบต.

13

โคกสี

27

นายสุมิตร

จุ้ยพุทธา

สมาชิก อบต.

14

โคกสี

28

นายทองผัด

เคนบู

สมาชิก อบต.

14

โคกสี

         

จำนวนบุคลากรพนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้าง    มีทั้งหมดจำนวน 42   คน แยกตามส่วนดังนี้

โดยการควบคุม ดูแล งานราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบล                      

ที่

ชื่อ สกุล

ตำแหน่งปัจจุบัน

1

นางสาวพราวภัสสร

รัตนพรอาภาพัทธ์

ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

2

 นายดิเรกราช

ไชยสาคร

รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

        

ฝ่ายตรวจสอบภายใน                      

ที่

ชื่อ สกุล

ตำแหน่งปัจจุบัน

1

นางสาววิภาวดี

แสนส่อง

นักวิชาการตรวจสอบภายใน

       

ส่วนสำนักปลัด             จำนวน 14 คน

ที่

ชื่อ สกุล

ตำแหน่งปัจจุบัน

1

นายวุฒิสาร

กลางการ

หัวหน้าส่วนสำนักปลัด

2

นายสกรรจ์

เดชขันธ์

นิติกร

3

นางรุ่งรภัส  

โพติยะ

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

4

นางสาวชวนพิศ

โคตรสีวงษ์

เจ้าพนักงานธุรการ

5

นางณัฐวรรณ์

แวงสุข

เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

6

นายไวพจน์

ลาดอาสา

บุคลากร

7

นายชัยณรงค์

ไชยศรี

นักพัฒนาชุมชน

8

นางอริสรา

ตราชู

เจ้าหน้าที่ธุรการ

9

นางอภิญญา  

เจนบุรี

เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน

10

นายชาลี

ลาสา

ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน

11

นางสุพินยา

ใจเที่ยง

ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ

12

นางสุลัดษดา

วงค์พุฒ

ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

13

นายเกรียงไกร

นาชิน

พนักงานขับรถ   (ส่วนกลาง)

14

นายวิตรฐี

ศรีโย

นักการภารโรง

 

ส่วนการคลัง               จำนวน 6 คน

ที่

ชื่อ สกุล

ตำแหน่งปัจจุบัน

1

นางละออง

สีทาโส

หัวหน้าส่วนการคลัง

2

นางสาววิภาวดี

แสนส่อง

เจ้าหนักงานการเงินและบัญชี

3

นางสุกัญญา

พันธ์เดช

เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้

4

นางจุรีพร

ศรีชัยปัญญา

เจ้าพนักงานพัสดุ

5

นางสาวนิภาพร

พุทธคำ

เจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้

6

นางดวงมณี

บุญลือ

ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้

ส่วนโยธา                   จำนวน 6 คน

ที่

ชื่อ สกุล

ตำแหน่งปัจจุบัน

1

นายคมคาย

ม่วงนิล

หัวหน้าส่วนโยธา

2

นายเฉลียว

กุลกิจ

วิศวกรโยธา

3

นายจักรพันธ์

พหลเทพ

นายช่างโยธา

4

นายประยูร  

แง่พรหม

ผู้ช่วยช่างโยธา

5

นายจิตรกรณ์

ธรรมธน

ผู้ช่วยช่างไฟฟ้า

6

นายนิรันดร์

สมปิตตะ

พนักงานขับรถยนต์   (ส่วนกลาง)

ส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม        จำนวน 8 คน

ที่

ชื่อ สกุล

ตำแหน่งปัจจุบัน

1

นางสาวกฤติกานต์

ไกลยา

นักวิชาการศึกษา

2

นางรัตนา

ใยแก้ว

ครูผู้ช่วย

3

นางสำรวย

ทองบุญมา

ครูผู้ช่วย

4

นางศุภาณี

ดาทุมมา

ผู้ช่วย

5

นางบุญถม

มาตรวิเศษ

ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก

6

นางสาววณิชชา

ร้อยพรมมา

ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก

7

นางวิภาวัลย์

เจริญธนพร

ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก

8

นายสุรจักษ์

แก้วบ่อ

ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา

ส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม        จำนวน 6 คน

ที่

ชื่อ สกุล

ตำแหน่งปัจจุบัน

1

นายธวัชชัย

ทัศนิยม

เจ้าพนักงานส่งเสริมสุขภาพ

2

นายสมภาร

บุรีจันทร์

พนักงานขับรถยนต์   (รถขยะ)

3

นายสมิธ

สายขุน

พนักงานขับรถยนต์   (รถกู้ชีพ)

4

นายสมาน

บุรีจันทร์

คนงานประจำรถขยะ

5

นายสลบ

เก้งโทน

คนงานประจำรถขยะ

6

นายฉลอง

ปัดทำ

คนงานประจำรถขยะ

สถานะทางการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกสี

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 องค์การบริหารส่วนตำบลได้ประมาณการรับไว้จำนวน 24,860,000 บาท     โดยในส่วนของรายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง จะได้ปรับปรุงการจัดเก็บให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น      และในส่วนของงบประมาณรายจ่ายได้กำหนดวงเงินรายจ่ายไว้จำนวน 24,860,000   บาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถไปจัดทำการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดทำงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นการจัดทำงบประมาณแบบสมดุล

รายรับงบประมาณ 2555  ประมาณการไว้รวมทั้งสิ้น 24,860,000.-บาท  โดยแยกตามหมวดดังนี้

หมวด

รับจริง

ปี 2553

ประมาณการ

ปี 2554

ประมาณการ

ปี 2555

1. หมวดภาษีอากร

15,188,072.35

10,655,500.00

10,024,500

2. หมวดค่าธรรมเนียมค่าปรับและใบอนุญาต

275,052.00

203,500.00

164,500

3. หมวดรายได้จากทรัพย์สิน

727,053.64

620,000.00

620,000

4. หมวดรายได้จากสาธารณูปโภคและการพาณิชย์

-

-

-

5. หมวดรายได้เบ็ดเตล็ด

348,718.00

201,000.00

51,000

6. หมวดรายได้จากทุน

-

-

-

7. หมวดเงินอุดหนุน                          

18,636,772.00

15,000,000.00

14,000,000

รวม

35,175,667.99

26,680,000.00

24,860,000

       รายจ่ายงบประมาณ 2555  ประมาณการไว้รวมทั้งสิ้น 24,860,000.-บาท  โดยแยกตามหมวดรายจ่ายดังนี้

หมวด

จ่ายจริง

ปี 2553

งบประมาณ

ปี 2554

งบประมาณ

ปี 2555

1. หมวดรายจ่ายงบกลาง

3,359,559.00

3,253,560.00

1,336,820

2. หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ

5,058,120.00

7,384,080.00

  

10,307,700

3. หมวดค่าจ้างชั่วคราว

2,554,880.00

2,479,200.00

4. หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ

8,610,194.00

8,112,360.00

8,717,180

5. หมวดค่าสาธารณูปโภค

500,000.00

490,000.00

485,000

6. หมวดเงินอุดหนุน

2,803,400.00

3,041,800.00

2,349,400

7. หมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง                          

2,719,500.00

1,919,000.00

1,663,900

8. หมวดรายจ่ายอื่น                          

654,200.00

-

-

รวม

26,259,853.00

26,680,000.00

24,860,000

เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้ได้อย่างครอบคลุม สามารถแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นให้ได้ตามปัญหาและความต้องของประชาชนซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2550 ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดกรอบความเป็นอิสระในการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชน และความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเอง ส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและการบริหารมากขึ้น